“การบำรุุงรัักษาเครื่่องจัักร” นี่่มัันคืืออะไร ?

บ่อยครั้งที่เมื่อถามว่า “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” หมายถึงอะไร ก็มักจะได้รับคำตอบว่าคือ “การซ่อมบำรุงหรือการซ่อมแซมเครื่องจักรที่ชำรุด” แล้วเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ที่จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างการซ่อมแซมเครื่องจักรหลังจากที่เกิดการชำรุดแล้วกับการซ่อมบำรุงเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องเกิดการชำรุด สรุปเป็นคำพูดสั้นๆ ได้ว่า การบำรุงรักษาคือ “การซ่อมบำรุงเพื่อไม่ให้เกิดการชำรุด” หากกล่าวให้ละเอียดมากขึ้น หมายถึง “การรักษาผลผลิตตามอัตรากำลังการผลิตและคุณภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน” และเพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์นั้นๆ ทำงานได้ตามฟังก์ชันและเต็มประสิทธิภาพตามเดิม

“การบำรุงรักษาเครื่องจักร” อาจดูเป็นเรื่องง่ายหากมองเพียงผิวเผิน แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นงานที่ลึกซึ้งมาก เมื่ออบอกว่าลึกซึ้งอาจฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ในฉบับนี้จะอธิบายเนื้อหาในลักษณะที่จะทำให้าหลงรัก “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” เลยทีเดียว

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านทุกท่านต้องเคยขี่จักรยาน และยังเชื่ออีกว่าหากแรงดันลมยางจักรยานอ่อนคุณก็จะเติมลม หากโซ่ดูเหมือนจะฝืดคุณก็จะหยอดน้ำมัน หากนอตหรือสลักเกลียวจุดไหนหลวมคุณจะขันให้แน่นด้วยไขควงหรือประแจ หรือเมื่อรู้สึกว่าการขับเคลื่อนไม่ปกติคุณก็จะซ่อมบำรุงก่อนจะขี่จักรยานนั้นต่อไป

วิธีการเช่นนี้นี่แหละคือ “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” กล่าวคือ มีการใส่ใจในจุดสำคัญและซ่อมบำรุงจักรยานอย่างสม่ำเสมอก่อนที่เกิดการชำรุดอย่างสิ้นเชิง

วิธีการบำรุงรักษาสามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ดังนี้ “การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข” คือ การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมหลังเกิดการชำรุด “การบำรุงรักษาตามรอบ” คือ การบำรุงรักษาและซ่อมแซมตามช่วงเวลาที่กำหนด และ “การบำรุงรักษาตามสภาพ” คือ การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมไปพร้อมๆ กับการตรวจเช็คสภาพของเครื่องจักร

การซ่อมยางรถจักรยานที่แตก เรียกว่าการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข การรักษาแรงดันลมในล้อยางให้คงที่ด้วยการเติมลมตามรอบอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่าการบำรุงรักษาตามรอบ ส่วนการหล่อลื่นชิ้นส่วนบริเวณจุดหมุนหรือโซ่ เพราะรู้สึกว่าเหยียบแป้นถีบจักรยานแล้วฝืด เรียกว่าการบำรุงรักษาตามสภาพ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนยางรถจักรยานใหม่ตามรอบเป็นประจำเพื่อไม่ให้ยางแบนจะเกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หากหล่อลื่นน้ำมันที่โซ่มากจนเกินไป น้ำมันส่วนเกินจะกระจายไปทั่วโซ่หรืออาจทำให้มีเม็ดทราย ฯลฯ มาติดจนทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ เช่นเดียวกันกับ “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” เพื่อการผลิตที่ต้องมี “การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข” “การบำรุงรักษาตามรอบ” และ “การบำรุงรักษาตามสภาพ” ในแต่ละส่วนประกอบย่อยของเครื่องจักรอย่างเหมาะสม

ทำการตรวจเช็คสภาพวาล์วลมของยาง เนื่องจากวาล์วลมผลิตจากยาง จึงเกิดการเสื่อมสภาพได้ หากวาล์วลมฉีกจะทำให้ลมยางรั่วออกมา จึงจำเป็นต้องตรวจเช็คสภาพและเปลี่ยนวาล์วลมทุกๆ ครึ่งปี

จักรยานประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหลายร้อยรายการหลากหลาย เช่น ยาง ขอบล้อ โซ่ เฟือง ตลับลูกปืนเพลา ลวดโลหะ นอตตัวเมียและสลักเกลียว เป็นต้น ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาประกอบรวมกันตามฟังก์ชันการทำงานของจักรยาน

หากคุณขี่จักรยานที่มีแรงดันลมยางต่ำมีความเสี่ยงที่ยางจะแตก นอกจากนี้ หากแรงดันลมยางอ่อนเกินไปไม่เพียงแต่ต้องใช้แรงปั่นที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ความรู้สึกในการควบคุมแฮนด์รถจะแตกต่างจากปกติ จนส่งผลให้ไม่สามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย

ถ่ายเทน้ำหนักตัวลงไประหว่างตรวจเช็คสภาพการหยุุดยั้งของเบรก กรณีบีบที่เบรกมือ แรงบีบที่ใช้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้านเบรก ทำการปรับก้านเบรกไปยังตำแหน่งที่ตนเองออกแรงบีบได้ง่ายที่สุด สำหรับสายเบรกเมื่อมีการใช้งานสายเบรกจะยืดออก หากยืดออกแล้วจะต้องปรับตั้งใหม่

ลองพิจารณากันดูว่าเหตุใดการบำรุงรักษาเครื่องจักรจึงเป็นสิ่งจำเป็น ยกตัวอย่างเช่นเรามีรถยนต์เป็นพาหนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย หากเปรียบเทียบรถยนต์เมื่อ 40 ปีที่แล้วกับรถยนต์สมัยใหม่ในแง่การเป็นพาหนะสำหรับเดินทางล้วนไม่มีความแตกต่างกันแต่ประการใด แต่ทว่ารถยนต์สมัยใหม่จะชำรุดได้ยากกว่าเนื่องจากมีการปรับปรุงเทคนิคการซ่อมบำรุงและการซ่อมแซมที่ปลดปล่อยสมรรถนะดั้งเดิมออกมาได้อย่างเต็มที่

เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการผลิตก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการบำรุงรักษาเช่นกันทุกประการ การนำเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการผลิตชุดใหม่เข้ามาใช้จนสิ้นสุดอายุการใช้งาน เราเรียกว่า “การบำรุงรักษาการผลิต” การบำรุงรักษาการผลิตมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการผลิตทำงานตามฟังก์ชันได้เต็ม 100% ทุกครั้งตามต้องการ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระหว่างที่มีการผลิตให้น้อยที่สุด หากหลงลืมวัตถุประสงค์นี้ไป คุณจะทำได้เพียงซ่อมแซมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเท่านั้น

การวางแผนและบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้่อุปกรณ์การผลิตทำงานผิดปกติได้เป็นเวลานาน เรียกว่า “การบำรุงรักษาตามแผน” การบำรุงรักษาตามแผนสามารถแบ่งกว้างๆ ได้เป็น “การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการขัดข้องของอุปกรณ์ และ “การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาหลังจากอุปกรณ์ขัดข้องหรือประสิทธิภาพการทำงานลดลง การบำรุงรักษาเชิงป้องกันแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ “การบำรุงรักษาตามรอบ” ซึ่งจะมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนตรวจเช็คสภาพ และซ่อมบำรุงตามรอบระยะเวลาการทำงานช่วงใดช่วงหนึ่ง และ “การบำรุงรักษาตามสภาพ” ซึ่งจะมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนตรวจเช็คสภาพ และซ่อมบำรุงตามสถานะการทำงานของอุปกรณ์ โดยตัดสินจากสภาพการทำงานของอุปกรณ์ในเชิงปริมาณ นับเป็นเรื่องยากในการกำหนดว่าจะใช้วิธีใด แต่ทั้งสองวิธีต้องมีการตรวจเช็คเป็นระยะ โดยพิจารณาจากประวัติการขัดข้องและการซ่อมแซมในอดีต ตลอดจนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของอุปกรณ์ในเชิงปริมาณ ไม่ว่าวิธีใดก็ตามจำเป็นต้องอาศัยการตัดสินด้วยคน และผู้รับผิดชอบงานบำรุงรักษาและผู้จัดการจะต้องมีความสามารถในการตัดสินที่แม่นยำ ตลอดจนมีทักษะและความรู้ที่เพียงพอ

ภาพแสดงเบรกของเครื่องกลึง จะเห็นได้น้ำมันเบรกรั่วไหลออกจากเบรกตัวนี้ เบรกเครื่องกลึงมีโครงสร้างส่วนใหญ่คล้ายกับเบรกรถยนต์ หากน้ำมันเบรกแห้ง ขณะกำลังกลึงชิ้นงานอาจส่งผลทำให้เบรกไม่ทำงาน

ตัวกระบอกสูบ เมื่อถอดออกมาตรวจเช็คพบว่าเกิดการกัดกร่อนอันเนื่องมาจากไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันเบรกมาเป็นเวลานาน คุณสมบัติของน้ำมันเบรกมีน้ำผสมอยู่ด้วย ดังนั้น หากไม่มีส่วนประกอบของน้ำผสมในน้ำมันเบรกจะทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดการกัดกร่อนได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยการเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามช่วงเวลาที่กำหนด

น้ำยาหล่อเย็นเครื่องยนต์ในรถยนต์ เมื่อใช้เป็นเวลานานประสิทธิภาพของน้ำยาหล่อเย็นจะด้อยลง ภาพถ่ายแสดงตัวอย่างท่อที่มีน้ำยาหล่อเย็นไหลผ่านในสภาพที่ถูกกัดกร่อน หากเครื่องยนต์ร้อนจัดเนื่องจากขาดน้ำยาหล่อเย็นอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายถาวรได้

จะต้องทำความเข้าใจประวัติการซ่อมที่ดำเนินการในระหว่างการบำรุงรักษาตามแผนและสาเหตุของการชำรุด และต้องปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์การผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการผลิตในอนาคต เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องระบุสาเหตุของการชำรุดให้แม่นยำ และจดบันทึกเนื้อหาการบำรุงรักษาระหว่างดำเนินการตามแผน รวมถึงดำเนินกิจกรรมยกระดับอัตราการทำงานของเครื่องจักร


ในการตรวจเช็คอุปกรณ์การผลิตจำเป็นต้องตรวจดูให้ครบถ้วน ไม่ใช่แค่ตรวจดูเพียงผ่านๆ เท่านั้น แต่ต้องมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่จะช่วยให้การตรวจเช็คภาพรวมของอุปกรณ์ทำได้ง่ายขึ้น ในโรงงานผลิตอุปกรณ์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิต เมื่อต้องตรวจเช็คอุปกรณ์โรงงานจะต้องทราบว่ามีการใช้งานอุปกรณ์ประเภทใดอยู่บ้าง เช่น เพื่อเป็นแหล่งพลังงาน เพื่อการแปรรูป/การขึ้นรูป เพื่อขนย้ายลำเลียง เพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น อุปกรณ์การผลิตได้รับการออกแบบเพื่อให้แต่ละกระบวนการเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์การผลิตประกอบด้วย W (ชิ้นงาน) ที่ถูกสร้างขึ้น T (เครื่องมือ) ที่ใช้จับ หนีบ ตัด และขึ้นรูปชิ้นงาน M (กลไก) ที่ขับเคลื่อนเครื่องมืออย่างแม่นยำ มอเตอร์ที่เป็นแหล่งพลังงานสำหรับขับเคลื่อน M (กลไก) A (แอคชูเอเตอร์) ของอุปกรณ์ไฮดรอลิก/อุปกรณ์ระบบอัดอากาศ อุปกรณ์ควบคุม C (คอนโทรลเลอร์) เพื่อควบคุม A (แอคชูเอเตอร์) อย่างแม่นยำ และ S (เซนเซอร์) เพื่อควบคุม C (คอนโทรลเลอร์) ได้อย่างแม่นยำ ชิ้นส่วนองค์ประกอบต่าง ๆ คือ T (เครื่องมือ), M (กลไก), A (แอคชูเอเตอร์), C (ตัวควบคุม) และ S (เซนเซอร์) ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างเช่น ในระบบไฮดรอลิก ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบได้แก่ กระบอกไฮดรอลิก ปั๊มไฮดรอลิก ถังไฮดรอลิก วาล์วควบคุมทิศทาง / ควบคุมความดัน วาล์วควบคุมอัตราการไหล และท่อ ฯลฯ อุปกรณ์ระบบอัดอากาศประกอบด้วยเครื่องอัดอากาศ กระบอกลม โซลินอยด์วาล์ว วาล์วควบคุมความเร็ว ชุดแรงลม 3 ชิ้น เป็นต้น ทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ โดยแบ่งเป็นในเชิงความรู้และเชิงทักษะ ในเชิงความรู้จำเป็นต้องเข้าใจวัสดุ โครงสร้าง และการใช้งานชิ้นส่วนต่างๆ ในเชิงทักษะจะต้องมีความสามารถในการตัดสิน มองภาพออก และคิดเป็น เคล็ดลับในการระบุทักษะและเทคนิคที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ คือการแยกแยะและจดบันทึกระหว่างสิ่งที่รู้ด้วยความรู้ (เทคนิค) และสิ่งที่สามารถทำได้จริงด้วยการปฏิบัติ (ทักษะ)

เช็คสภาพตัวกรองน้ำมันขาเข้าที่ติดตั้งในถังไฮดรอลิก เช็คสภาพวัตถุแปลกปลอมที่ติดอยู่บนพื้นผิวของตัวกรองน้ำมันขาเข้าโดยละเอียด ในบางกรณีอาจสามารถตรวจพบปัญหากับระบบไฮดรอลิกทั้งหมดล่วงหน้าได้จากวัตถุที่ติดอยู่บนตัวกรองน้ำมันขาเข้า

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงตัวกรองน้ำมันขาเข้าของเครื่องไฮดรอลิกที่กำลังอยู่ระหว่างเช็คสภาพ ชนิดของเศษโลหะที่เกาะติดอยู่บนพื้นผิวตัวกรองน้ำมันสามารถช่วยระบุได้ว่าส่วนใดของระบบไฮดรอลิกเกิดความเสียหาย ตรวจสอบชนิดของวัตถุที่ติดอยู่บนผิวตัวกรองน้ำมันขาเข้าโดยละเอียด

ถอดตัวกรองน้ำมันขาเข้าออกแล้วทำความสะอาด ตัวกรองน้ำมันขาเข้ามีขนาดที่บางมาก ต้องถอดออกอย่างระมัดระวัง เนื่องจากทำจากตะแกรงลวด มิฉะนั้นอาจทำให้ผิวสัมผัสของตัวกรองน้ำมันขาเข้าเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ หากถือตัวกรองด้วยมือ ต้องระวังอย่าให้เส้นใยจากถุงมือทำงานหลุดปะปนเข้าไป

น้ำมันไฮดรอลิกจะไหลผ่านตัวกรองน้ำมันขาเข้าจากผิวสัมผัสด้านนอกเข้าสู่ด้านใน สิ่งแปลกปลอมหรือเศษต่างๆ ที่ปะปนในน้ำมันไฮดรอลิกจะเกาะติดบนผิวสัมผัสตัวกรอง เวลาทำความสะอาดจะต้องเป่าลมจากด้านในตัวกรองออกไปทางด้านนอก เพราะหากเป่าลมจากด้านผิวสัมผัสเข้ามา สิ่งสกปรกและอนุภาคอื่นๆ จะปะปนเข้าไปในตัวกรอง

จะต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องชิ้นส่วนย่อยที่ประกอบเป็นอุปกรณ์การผลิตโดยแบ่งออกเป็นเชิงความรู้และเชิงทักษะ ในเชิงความรู้นั้นจำเป็นต้องเข้าใจถึงวัสดุ โครงสร้าง และการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆ ในเชิงทักษะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทำงานได้จริง เช่น การถอดประกอบ การบำรุงรักษา การมองสิ่งต่างๆ วิธีคิด และการตัดสินใจ การส่งเสริมความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนย่อยที่ประกอบเป็นอุปกรณ์การผลิตแต่ละชิ้น ผ่านการลงมือบำรุงรักษาด้วยตนเองที่บริษัทของตน จะช่วยให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์การผลิตภายในบริษัททำได้ง่ายขึ้น


ผมมักจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบำรุงรักษาอุปกรณ์ของบริษัทเชิงป้องกัน เช่น การแยกชิ้นส่วน การเปลี่ยนชิ้นส่วน เมื่อประกอบและปรับจูนแล้วก็นำกลับไปใช้งาน พร้อมตรวจสอบว่ามีผลกระทบต่อคุณภาพหรือไม่ ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากเมื่อทำการแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับการผลิต เมื่อต้องแยกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก จะต้องคอยตรวจสอบ “ขั้นตอนการแยกชิ้นส่วน” “ชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ที่ถูกถอด” และ “ชิ้นส่วนมาตรฐาน” ระหว่างปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องกำหนดว่าชิ้นส่วนที่ถอดแยกออกมาและสลักเกลียวหรือนอตที่ถอดออกจะวางไว้ตรงไหน ในตอนนั้น คนในบริษัทมักถามผมว่า “จะทำอย่างไรให้าพนักงานของเราเก่งเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องจักร และทำอย่างไรจึงจะสามารถบำรุงรักษาและตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ในบริษัทตัวเองได้”

เมื่อถูกถามเช่นนี้ ผมจึงได้อธิบายไปว่า 1) สังเกตให้ดีว่าพนักงานซ่อมบำรุงที่มีความชำนาญปฏิบัติงานอย่างไร 2) ตั้งแต่การเลือกเครื่องมือไปจนถึงขั้นตอนการแยกชิ้นส่วนและวิธีการปรับจูน ให้จดบันทึกเทคนิคและทักษะที่จำเป็นเอาไว้ 3) นำบันทึกที่จดเอาไว้ มาสร้างเป็นคู่มือขั้นตอนการทำงาน 4) จดบันทึกขั้นตอนและเหตุผลแยกออกจากกัน เพื่อให้พนักงานคนอื่นสามารถทำงานแบบเดียวกันได้ ทดลองปฏิบัติงานจริง โดยอ้างอิงจากคู่มือขั้นตอนการทำงานที่สร้างขึ้นนี้ เพื่อตรวจสอบว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ หากพิจารณาคู่มือขั้นตอนการทำงานที่หลายๆ บริษัทสร้างขึ้น จะพบว่าส่วนใหญ่มีการอธิบายเฉพาะแต่ละขั้นตอนเท่านั้น ไม่ได้อธิบายครอบคลุมถึงงานจริง หรือผู้เขียนคู่มือไม่ได้เข้าใจอุปกรณ์อย่างถ่องแท้ การสร้างคู่มือที่มีขั้นตอนและเหตุผลที่ชัดเจน จะช่วยเสริมสร้างทักษะและเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีความแข็งแกร่งขึ้น

กล่องควบคุมเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์นั้นส่วนบุคคลเป็น 1 ในชิ้นส่วนที่ถอดประกอบและซ่อมแซมได้ายากมาก กำหนดลำดับการถอดแล้ววางบนกระจกใสเพื่อป้องกันการใส่ชิ้นส่วนเล็กๆ ด้านในผิด และใช้ปากกามาร์คเกอร์ทำเครื่องหมายเพื่อบอกตำแหน่งของชิ้นส่วนที่อยู่ด้านบน ในกิจกรรมหนึ่งที่เราเคยจัดขึ้นจริงที่โรงเรียนอาชีวะในแอฟริกา (ยููกันดา) คือเราได้คิดค้นวิธีการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์โรงงานโดยใช้ของที่หาได้ในพื้นที่

ในส่วนนี้จะอธิบายวิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ของระบบระบายอากาศเฉพาะที่ตามรอบ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องชำรุดจนหยุดทำงาน ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า สายพานร่องวี ลูกรอก ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ และลูกปืนสำหรับชิ้นส่วนต่างๆ

ทำการตรวจเช็ครอเตอร์ของมอเตอร์ เนื่องจากมอเตอร์ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงเปิดฝาครอบด้านหน้าของมอเตอร์ออกแล้วตรวจเช็คการคลอนของลูกปืน เช็คเสียงที่ผิดปกติ และเช็คความฝืดของการหมุน ฯลฯ พบว่าหมุนฝืดเล็กน้อยและมีเสียงผิดปกติ จึงทำการเปลี่ยนลูกปืน นอกจากนี้ยังตรวจเช็คเพิ่มเติมว่าสตเตอร์และรอเตอร์ไม่ไดสัมผัสกันหรือไม่ พร้อมทั้งเช็คสภาพการสึกหรอของลูกรอก

มื่อถอดลูกปืนออกจากรอเตอร์ จะตรวจสอบการสวมกันระหว่างวงแหวนด้านในของลูกปืนและเพลาโรเตอร์ ขณะถอดออกด้วยเหล็กดูดลูกปืน ทำการตรวจเช็คว่าด้ามจับที่หมุนเหล็กดูดลูกปืนฝืดหรือไม่ หรือสีของวงแหวนด้านในของลูกปืนเปลี่ยนไปหรือไม่ หากเพลาและแหวนด้านในไถลออก อาจทำให้สีเปลี่ยนไป

ทำการตรวจเช็คสเตเตอร์ ตรวจเช็คด้วยสายตาและเครื่องทดสอบว่ารอเตอร์มีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกันหรือไม่ ความต้านทานของฉนวนปกติหรือไม่ ขดลวดมีจุดใดที่สีเปลี่ยนไปหรือไม่ ส่วนที่ติดตั้งนอกตัวอาคารมีร่องรอยน้ำฝนเข้าไปภายในหรือไม่ เป็นต้น


    ในการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกจำเป็นต้องใช้เครื่องมือประเภทต่างๆ ทุกครั้ง ทักษะและเทคนิคที่จำเป็นที่ไซต์งาน ได้แก่ การถอดแยกชิ้นส่วนเครื่องจักรโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม สถานที่จัดเก็บชิ้นส่วนที่ถอดออกมา และการจัดเก็บโดยแยกประเภทและลำดับของสลักเกลียวและนอต เชื่อว่าท่านที่มีประสบการณ์การทำงานจริงส่วนใหญ่จะจดบันทึกและถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิทัลไปด้วยขณะที่ถอดแยกชิ้นส่วนพร้อมจดบันทึกเอาไว้ เมื่อต้องประกอบกลับและปรับแต่งชิ้นส่วนก็จะอาศัยบันทึกดังกล่าวและความทรงจำตั้งแต่ครั้งที่ทำการถอดออกมา เมื่อทำการถอดแยก ซ่อมแซม ประกอบกลับ หรือปรับจูนอุปกรณ์ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องบันทึกส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากคู่มือขั้นตอนการทำงาน และต้องจดจำว่าปฏิบัติงานไปอย่างไรบ้าง การจดบันทึกและการจดจำมีความสำคัญอย่างมากในการบำรุงรักษาเครื่องจักร การถอดแยก การซ่อมแซม การประกอบกลับ การปรับจูนอุปกรณ์ และการใช้เครื่องมือต่างๆ ยิ่งมากก็ยิ่งทำให้ความทรงจำสะสมมากขึ้นตามไปด้วย

    ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณต้องการคลายนอต คุณจะใช้ประแจหรือประแจซ็อกเก็ต โดยหลักการแล้วก็ต้องใช้ประแจซ็อกเก็ต เหตุผลก็คือ หากใช้ประแจหัวสลักเกลียวจะสัมผัสกัน 2 จุด ในขณะที่ประแจซ็อกเก็ตจะสัมผัสกัน 6 จุด ทำให้สามารถขันสลักเกลียวให้แน่นได้โดยไม่ทำให้หัวสลักเกลียวรูด (หลุด) นอกจากนี้ หากใช้ประแจเป็นเวลานาน ปากของประแจจะอ้าออกจนทำให้ไม่สามารถขันสลักเกลียวให้แน่นได้ แต่ทว่า หากต้องขันแหวนสกรูที่ท่อสำหรับท่อไฮดรอลิก ท่อระบบอัดอากาศ ฯลฯ ประแจซ็อกเก็ตจะไม่สามารถใช้งานได้ด้วยข้อจำกัดในด้านรูปทรง ในทางกลับกันก็ไม่สามารถใช้ประแจได้เนื่องจากจะทำให้บริเวณแหวนสกรูเสียหาย

    ในกรณีีนี้้ จะต้้องใช้้ประแจที่่ออกแบบมาเฉพาะสำหรัับท่่อ เช่่น ประแจแหวนผ่่า หรืือหััวประแจปากตาย

    ด้านซ้ายแสดงภาพกำลังตรวจสอบความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิกใหม่ ด้านขวาแสดงภาพกำลังกตรวจสอบเฉดสีและความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิก สำหรับการตรวจวัดความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิกใหม่และที่อยู่ระหว่างการใช้งาน เราใช้เครื่องวัดความหนืดสำหรับสีเคลือบ โดยนำมาวัดตามรอบเวลาที่กำหนด การวัดความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิกตามสภาพการใช้งานจริงจะทำให้สามารถกำหนดเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันรอบใหม่ได้

    สร้างเครื่องมือใช้เองซึ่งไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร หากไม่มีผลิตภัณฑ์ เช่น เหล็กดูดลูกปืนขนาดเล็กจำหน่ายในท้องตลาด ก็จะผลิตเองด้วยเครื่องจักรที่มีอเนกประสงค์ นอกจากนี้ยังผลิตชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ในลักษณะเดียวกัน

    เหล็กดูดลูกปืนขนาดเล็กที่ผลิตใช้เอง ตำแหน่งของกรงจับสามารถเปลี่ยนได้เพื่อการใช้งานที่ง่ายขึ้นแม้ในจุดที่แคบ และออกแบบให้สามารถเปลี่ยนส่วนของกรงเล็กและตลับลูกปืนชนิดต่างๆ ได้หลากหลาย

    นี่คือ เครื่องมือเฉพาะที่ใช้ยึดจับท่อ (ประแจ ประแจแหวนผ่า หัวประแจปากตาย) เพื่อให้สามารถยึดท่อให้แน่นได้โดยไม่ให้เสียรูปจะต้องใช้ประแจเฉพาะสำหรับท่อ

    ชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ท่อน้ำมันไฮดรอลิกจะต้องขันยึดให้แน่น จึงต้องใช้าประแจจับยึดไว้ตามภาพแล้วใช้าหัวประแจปากตายหมุนให้แน่น หากหมุนพร้อมกันทั้งประแจและหัวประแจปากตาย ท่อที่ฝั่งแท่นอัดไฮดรอลิกจะหลวมจนอาจทำให้น้ำมันไฮดรอลิกหลั่วออกได้