การพัฒนาของเทคโนโลยีหุ่นยนต์

ในสังคมแห่ง IoT หากมองว่าเซ็นเซอร์รับข้อมูลแล้วกระตุ้นให้สังคมเกิดการเคลื่อนไหวใน รูปแบบต่างๆ หุ่นยนต์จะสัมพันธ์โดยตรงกับการกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับ เครื่องจักร เมื่อพูดถึง “robot” เราอาจนึกถึงเครื่องจักรที่เคลื่อนที่แบบตั้งตรงด้วยรูปร่างที่ เหมือนคน แต่ที่จริงแล้วรูปร่างนั้นมีอยู่หลากหลาย

ตัวอย่างเช่นโดรนก็ถือเป็นหุ่นยนต์ ก่อนจะมีโดรน เราก็มีสิ่งที่บินอยู่เหนือท้องฟ้าโดยใช้กำลัง ขับของตัวมันเอง เช่น เครื่องบินบังคับวิทยุ หรือเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น ทำไมจึงมีเฉพาะโดรน ที่ได้รับความสนใจ นั่นเพราะควบคุมได้ง่ายและยิ่งไปกว่านั้นคือการเคลื่อนที่อย่างแม่นยำ ด้วย แรงยกที่ได้จากการใช้ใบพัดหลายใบ ทำให้โดรนควบคุมได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่าง ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าเป็นการถ่ายภาพจากที่สูงหรือจัดส่งพัสดุ เป็นต้น

สำหรับการเกษตรกรรมนั้น หุ่นยนต์ที่ทำงานในทุ่งโล่งยากที่จะควบคุมตำแหน่งให้ได้อย่าง แม่นยำ จึงถูกจำกัดใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างเช่นโรงงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันด้วยการ ปรับปรุงประสิทธิภาพของ GPS ที่ดีขึ้นจึงนำมาใช้งานในฟาร์มเกษตรได้

หุ่นยนต์ค่อยๆ บุกเบิกวงการใหม่ๆ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญในสังคมแห่ง IoT หนึ่งในนั้น คือการแลกเปลี่ยนเงินสดในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ หากชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ก็คงสามารถนำไปใช้งานจริงได้ทันที พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ของโรงแรมที่เปลี่ยนเป็นระบบ หุ่นยนต์ก็กลายมาเป็นประเด็นร้อน

สายการผลิต เช่น รถยนต์ ก็เริ่มนำหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคนได้มาใช้งานจริง หุ่นยนต์ในช่วง เริ่มแรกนั้นเคยเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กับทำให้คนได้รับบาดเจ็บ จากการเคลื่อนที่ที่นอกเหนือ ความคาดหมาย จึงไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานร่วมกับคนได้

แต่ปัจจุบัน แม้จะยังมีข้อจำกัดแต่หุ่นยนต์ก็สามารถร่วมทำงานกับคนได้ เช่น จับประคองวัตถุ ที่มีนํ้าหนักมาก เป็นการช่วยลดภาระของคนลงได้ หุ่นยนต์ในลักษณะนี้ประกอบไปด้วย โครงสร้างที่แม้จะสัมผัสก็ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ

ประเด็น สำคัญ BOX
● หุ่นยนต์ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานสำคัญในสังคมแห่ง IoT
● การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์เป็นไปได้แล้วในปัจจุบัน