เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์จะเคลื่อนที่อุปกรณ์ตัด (เพลาขับ) และโต๊ะตามค่าพิกัด เพราะเหตุนั้นการที่จะเดินเครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ต้องทราบเกี่ยวกับระบบพิกัดซึ่งเป็นพื้นฐานของตัวเลขพิกัดไว้ก่อน
1 การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์
การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ประกอบไปด้วยแกน X แกน Y แกน Z ทั้งหมด 3 แกน เครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งและเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ 5 แกนหากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-3)
เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวนอนหากมองตัวเครื่องโดยอยู่ตรงข้ามกับเพลาขับ ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะ เป็นแกน Z ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Y
เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แบบเสาคู่หากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า หน้าหลังจะเป็นแกน X ซ้ายขวาจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-4)
แกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับจะเป็นแกน Z ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลชนิดใด
นอกเรื่องจากเดิมมาสักนิด เครื่องกลึงเองก็มีแกน Z เป็นแกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับ (แกนที่เชื่อมกับชุดยันศูนย์ ท้ายกับเพลาขับ) แต่ละแกนจะมีทิศทางบวก ทิศทางลบ แนวความคิดนี้ตาม “กฎมือขวา 1” ทำมือขวาตามภาพเทียบ หัวเพลาขับโดยนิ้วโป้งเป็นแกน X นิ้วชี้เป็นแกน Y นิ้วกลางเป็นแกน Z แล้วทิศทางที่นิ้วชี้ไปคือทิศทางบวก ทิศทางตรง ข้ามกันคือทิศทางลบ เครื่องจักรกลนั้นจะเอาการเคลื่อนไหวของหัวเพลาขับเป็นมาตรฐานในการดูทิศทางบวก ทิศทางลบ
2 ทิศทางของระบบพิกัด
จุดนี้ควรระวัง (ส่วนนี้เป็นกับดัก!) หัวเพลาขับถูกยึดไว้อยู่ที่ตรงกลางของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ แต่ตำแหน่งใน การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่น เครื่องที่ทั้ง 3 แกนเคลื่อนที่โดยโต๊ะ หรือหัวเพลาขับเคลื่อนที่ เฉพาะแกน Z (1 แกน) และแกน X แกน Y (2 แกน) เคลื่อนที่โดยโต๊ะ เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น ในเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งที่โต๊ะเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแกน X กับแกน Y ทิศทางบวก และทิศทางลบของแต่ละแกนจะตรงกันข้ามกับทิศทางที่นำการเคลื่อนไหวของเพลาขับมาเป็นพื้นฐาน (กฎมือขวา) แกน X (ทิศทางซ้ายขวา) ทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยังด้านซ้ายเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางบวก และทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยัง ด้านขวาเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางลบ ส่วนนี้หากพิจารณาจากการเทียบกันแล้ว การที่โต๊ะเคลื่อนที่ไปยังทางซ้าย เทียบต่อเพลาขับ เป็นเพราะว่าเพลาขับเคลื่อนที่ไปยังทางขวา เช่นเดียวกันกับที่แกน Y (ทิศทางหน้าหลัง) มีทิศทางที่โต๊ะ เคลื่อนที่ไปยังฝั่งเสาเป็นทิศทางลบเนื่องจากเพลาขับเคลื่อนที่ไปยังหน้าหลังแบบหันเข้าหากันนั่นเอง
ทิศทางของระบบพิกัด (ทิศทางบวก ทิศทางลบ) จึงสามารถคิดได้จากการนำการเคลื่อนไหวของหัวเพลาขับมาเป็น มาตรฐานเช่นนี้ แต่ในกรณีที่โต๊ะเคลื่อนโดยหัวเพลาขับไม่เคลื่อนที่ ทิศทางของระบบพิกัด (ทิศทางบวก ทิศทางลบ) จะ ตรงกันข้ามกัน แกน Z ปกติแล้วทิศทางที่อุปกรณ์ตัดกลึงส่วนด้านนอกของชิ้นงานจะเป็นทิศทางลบ (ทิศทางที่อุปกรณ์ตัด กลึงตัวชิ้นงาน)
การเคลื่อนที่ของหัวเพลาขับหรือโต๊ะที่ส่งผลให้ทิศทางของระบบพิกัดเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ทิศทางของ ระบบพิกัดเป็นเรื่องที่น่ากลุ้มใจที่สุดในกระบวนการเรียนรู้เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ แต่หากคุ้นเคยขึ้นมาได้แล้วก็จะไม่ ทำให้พะวงถึงขนาดนั้นขอให้ทุกคนพยายามจนกว่าจะเรียนรู้ได้
ใจความสำคัญ
NC คือตัวอักษรหน้าสุดของคำว่าการควบคุมด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร (Numerical Control) ตัวเลขและตัวอักษร จะแสดงค่าพิกัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนที่เคลื่อนที่ได้ เช่น หัวเพลาขับหรือโต๊ะจะมุ่งหน้าไปยังพิกัด X, Y, Z ที่ระบุ