แกนเส้นตรงและระบบพิกัด (กฎมือขวา)

เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์จะเคลื่อนที่อุปกรณ์ตัด (เพลาขับ) และโต๊ะตามค่าพิกัด เพราะเหตุนั้นการที่จะเดินเครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ต้องทราบเกี่ยวกับระบบพิกัดซึ่งเป็นพื้นฐานของตัวเลขพิกัดไว้ก่อน 1 การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ประกอบไปด้วยแกน X แกน Y แกน Z ทั้งหมด 3 แกน เครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งและเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ 5 แกนหากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-3) เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวนอนหากมองตัวเครื่องโดยอยู่ตรงข้ามกับเพลาขับ ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะ เป็นแกน Z ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Y เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แบบเสาคู่หากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า หน้าหลังจะเป็นแกน X ซ้ายขวาจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-4) แกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับจะเป็นแกน Z ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลชนิดใด นอกเรื่องจากเดิมมาสักนิด เครื่องกลึงเองก็มีแกน Z เป็นแกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับ (แกนที่เชื่อมกับชุดยันศูนย์ ท้ายกับเพลาขับ) แต่ละแกนจะมีทิศทางบวก ทิศทางลบ แนวความคิดนี้ตาม “กฎมือขวา 1” ทำมือขวาตามภาพเทียบ หัวเพลาขับโดยนิ้วโป้งเป็นแกน X นิ้วชี้เป็นแกน Y นิ้วกลางเป็นแกน Z แล้วทิศทางที่นิ้วชี้ไปคือทิศทางบวก ทิศทางตรง ข้ามกันคือทิศทางลบ เครื่องจักรกลนั้นจะเอาการเคลื่อนไหวของหัวเพลาขับเป็นมาตรฐานในการดูทิศทางบวก ทิศทางลบ 2 ทิศทางของระบบพิกัด จุดนี้ควรระวัง (ส่วนนี้เป็นกับดัก!) หัวเพลาขับถูกยึดไว้อยู่ที่ตรงกลางของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ แต่ตำแหน่งใน การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่น เครื่องที่ทั้ง 3 แกนเคลื่อนที่โดยโต๊ะ หรือหัวเพลาขับเคลื่อนที่ เฉพาะแกน Z (1 แกน) และแกน X แกน Y (2 แกน) เคลื่อนที่โดยโต๊ะ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ในเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งที่โต๊ะเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแกน X กับแกน Y ทิศทางบวก และทิศทางลบของแต่ละแกนจะตรงกันข้ามกับทิศทางที่นำการเคลื่อนไหวของเพลาขับมาเป็นพื้นฐาน (กฎมือขวา) แกน X (ทิศทางซ้ายขวา) ทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยังด้านซ้ายเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางบวก และทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยัง ด้านขวาเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางลบ ส่วนนี้หากพิจารณาจากการเทียบกันแล้ว

เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้ง
(Vertical Machining Center)

1 โครงสร้าง เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ทั่วไปจะมีฝาครอบเครื่องอยู่ทำให้มองไม่เห็นโครงสร้างด้านใน (โครงเหล็ก) เครื่องแมชชีนนิ่ง เซ็นเตอร์ในปัจจุบันมีการปรับฝาครอบให้ดูดีขึ้นและยังมีแผงควบคุมเป็นหน้าจอสัมผัสอีกด้วย หลายคนจึงนึกภาพคิด ว่าเป็นเครื่องมือกลรุ่นใหม่ แต่หากถอดฝาครอบออกโดยพื้นฐานแล้วก็ไม่ต่างไปจากเครื่องกัดทั่วไปมากเลย ฝาครอบ ของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์เรียกว่า “Splash Guard” โครงสร้างของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งสามารถแบ่ง ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามกลไกการเคลื่อนที่ด้วยแกน X ได้แก่ 1 ใช้โต๊ะ (Table) สำหรับหมุนชิ้นงาน 2 ใช้ หัวเพลาขับ (Spindle Head) สำหรับหมุนชิ้นงาน 1 กรณีใช้โต๊ะ (Table) สำหรับหมุนชิ้นงาน (ภาพที่ 1-1): ส่วนที่อยู่ตำแหน่งล่างสุดและเป็นฐานรองคือ “􂨎􀀁􀀁 แท่นเครื่อง (Bed)” ซึ่งแท่นเครื่อง (Bed) นั้นเป็นฐานรองเพื่อรองรับเครื่องมือกลทั้งหมด (ตัวเครื่อง) และแท่นที่ จะเคลื่อนที่ไปในแกน Y ตามรางนำทางบนแท่นเครื่อง (Bed) ก็คือ “􂨐􀀁หมอนรอง (Saddle)” นอกจากนั้น แท่นที่ จะเคลื่อนที่ไปในแกน X ตามรางนำทางของหมอนรอง (Saddle) ก็คือ “􂨒􀀁โต๊ะ (Table)” นั่นเอง ถัดมา ชิ้นส่วนที่อยู่บนแท่นเครื่อง (Bed) และเคลื่อนที่ออกในแนวตั้งคือ “􂰳􀀁 เสา (Column)” และส่วนที่จะ เคลื่อนที่ไปในแกน Z ตามรางนำทางของเสา (Column) ก็คือ “􂨖􀀁หัวเพลาขับ (Spindle Head)” นั่นเอง หัวเพลา ขับ (Spindle head) คือส่วนมีเพลาขับ (Spindle) ประกอบอยู่ในตัว 2 กรณีใช้หัวเพลาขับ (Spindle Head) สำหรับหมุนชิ้นงาน (ภาพที่ 1-2): ส่วนที่อยู่ตำแหน่งล่างสุดและ เป็นฐานรองคือ “􂨎􀀁􀀁แท่นเครื่อง (Bed)” และแท่นที่จะเคลื่อนที่ไปในแกน Y ตามรางนำทางบนแท่นเครื่อง (Bed) ก็คือ “􂨒􀀁โต๊ะ (Table)” ชิ้นส่วนที่อยู่บนแท่นเครื่อง (Bed) และเคลื่อนที่ออกในแนวตั้งคือ “􂰳􀀁เสา (Column)” และ แท่นที่จะเคลื่อนที่ไปในแกน

หลักการในการวัดของเวอร์เนียร์

ในภาพที่ 4 แสดงภาพขยายใหญ่ของเวอร์เนียร์กับขีดแบ่งสเกลรอง (ขีดแบ่งสเกลรองถูกเรียกได้ว่า ขีดแบ่งสเกลเวอร์เนียร์เช่นกัน) เวอร์เนียร์มีกลไกในการอ่านค่าที่วัดได้โดยดูสเกลหลักและขีดแบ่ง สเกลรองทั้งสองอย่าง ในส่วนนี้จะอธิบายถึงหลักการในการวัดของเวอร์เนียร์อย่างง่ายให้ทราบ หากปรับให้สเกลหลักและขีดแบ่งสเกลรองเลขศูนย์ตรงกันแล้วจะเห็นได้ว่า ค่า 10 ของขีดแบ่งสเกล ของตรงกับ 39 มม. ของสเกลหลัก ขีดแบ่งสเกลรองเป็นขีดแบ่งที่แบ่ง 0-10 ออกเป็น 20 ช่อง ค่าของขีด แบ่งสเกลรอง 1 ขีดจึงเป็นค่าที่แบ่ง 39 มม. ออกเป็น 20 ส่วน ซึ่งก็คือ 1.95 มม. หมายความว่าจะเกิด ช่องว่างระยะ 0.05 มม. ขึ้นระหว่างขีดแบ่งสเกลรอง 1 ขีดกับสเกลหลัก 2 มม. นั่นเอง ในส่วนนี้ ถ้าปรับขีดแบ่งสเกลรองขีดแรกให้ตรงกับสเกลหลัก 2 มม. ตามภาพที่ 5 จะทราบโดยง่ายว่า ช่องว่างไม่ตรงกันอยู่แล้วจึงเกิดช่องว่าง 0.05 มม. ที่ด้านวัดภายนอก กล่าวคือสำหรับเวอร์เนียร์ที่แสดง อยู่ในภาพนี้จะสามารถวัดค่าได้ละเอียดถึงระยะ 0.05 มม. ตามที่มีรอยพิมพ์ประทับไว้ว่า 0.05 มม. บริเวณด้านขวาของสเกลเลื่อน เวอร์เนียร์สามารถนำระยะส่วนต่างของขีดแบ่งสเกลหลักและขีดแบ่งสเกลรองมาใช้ในการวัดหลักที่ ตํ่ากว่าทศนิยมได้ดังที่กล่าวไป นี่คือหลักการในการวัดของเวอร์เนียร์นั่นเอง Columnชื่อเรียกภาษาอังกฤษของเวอร์เนียร์ (เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ : Vernier caliper)“Nonius” เป็นชื่อเรียกที่มีแค่คนญี่ปุ่นเท่านั้นที่เข้าใจ ในอเมริกาถูกเรียกว่า “เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์” คำว่า “เวอร์เนียร์” มาจากชื่อของผู้คิดค้นขีดแบ่งสเกลเวอร์เนียร์ที่ประยุกต์มากจากเครื่องวัด (ปิแอร์เวอร์เนียร์ : Pierre Vernier : ค.ศ. 1580-1637 : ฝรั่งเศส) ส่วน “คาลิปเปอร์” หมายถึง “อุปกรณ์ปากวัดงานที่สามารถวัดมิติจำพวกเส้นผ่าศูนย์กลางโดยใช้งานสเกลเลื่อน 2 ชิ้นหนีบคั่น”

เวอร์เนียร์

ภาพที่ 1-2 แสดงถึงภาพของเวอร์เนียร์และสภาพท่าทางการวัดโดยใช้เวอร์เนียร์แต่ละประเภท เวอร์เนียร์นั้นถูกกำหนดไว้ในมาตรฐาน JIS B 7507 เป็นเครื่องวัดที่มีประสิทธิภาพในทุกด้าน เนื่องจากสามารถวัดด้านนอก (ความยาว) ด้านใน (เส้นผ่าศูนย์กลางของรู) ความลึก ขอบต่าง ระดับทั้งหมด 4 จุดของสิ่งที่ต้องการวัดได้ตามที่ภาพแสดง แต่เวอร์เนียร์ไม่ได้นำมาใช้แค่ใน สาขาเครื่องจักรเท่านั้น ยังถูกใช้งานในสาขาต่างๆ มากมายเช่น สาขาก่อสร้างหรือสาขาเคมี อีกด้วย ช่วงหลังมานี้เริ่มเห็น “เวอร์เนียร์ระบบดิจิตอล” ที่แสดงค่าที่วัดได้แบบดิจิตอลขึ้นมากแล้ว และยังมีเวอร์เนียร์ “สะดวกซ้าย” สำหรับคนที่ถนัดมือซ้ายจำหน่ายอีกด้วย ภาพที่ 3 แสดงชื่อเรียกแต่ละส่วนของเวอร์เนียร์ เวอร์เนียร์แบ่งออกได้เป็น “สเกลหลัก” ที่มี ขีดแบ่งเหมือนกับสเกลที่กล่าวถึงไปก่อนหน้าและ “สเกลเลื่อน” ที่เลื่อนไปตามสเกลหลักดังภาพ ส่วนที่มีหน้าที่ในการวัดด้านนอก ด้านในคือ “ปากวัด” ส่วนที่วัดความลึกเรียกว่า “ก้านวัดลึก” มี เวอร์เนียร์ที่ผลิตด้วยซีเมนต์คาร์ไบด์เพื่อให้ด้านวัดเป็นรอยได้ยากอยู่ด้วย

การแพร่หลายของขอบเขตการทำงานด้วยหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริงนั้นได้รับการพัฒนาเพื่อใช้เป็นหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต แต่การใช้งานเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จึงได้เพิ่มฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เกิดความหลากหลาย ซึ่งจุด ประกายความคิดว่า “จะนำไปใช้นอกเหนือไปจากในโรงงานได้หรือไม่” จึงได้ดำเนินการวิจัยและ พัฒนา RT (Robot technology) ในสาขาอื่นที่นอกเหนือจากหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมไป พร้อมๆ กัน และเทคโนโลยีบางส่วนที่เกิดขึ้นที่นั่นก็จะได้นำมาใช้งานจริงต่อไป ตัวอย่างหนึ่งที่ เกิดขึ้นก็น่าจะเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาดที่มีการเริ่มนำมาใช้ในบ้าน หุ่นยนต์ที่ได้รับการพัฒนามาจากกระแสทั้งสองเช่นนี้ รวมถึงการใช้งานที่คาดหวังได้ว่าจะ แพร่หลายมากขึ้นอีกต่อจากนี้ไป ทำให้เริ่มรู้สึกว่าไม่มีความหมายที่จะแยกประเภท “หุ่นยนต์ เพื่ออุตสาหกรรม / หุ่นยนต์ที่ไม่ใช่เพื่ออุตสาหกรรม (หุ่นยนต์บริการ)” ออกจากกันอีกต่อไป เหตุผลนั่นเพราะว่าหุ่นยนต์ที่รวมเอาเทคโนโลยีทั้งสองด้านเข้าด้วยกันจะถือกำเนิดขึ้นมาอีก มากมาย และในปัจจุบันก็คลุมเครือมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะแบ่งมันออกจากระบบอัตโนมัติอื่นๆ ที่ ไม่ใช่หุ่นยนต์ สิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นจริงๆ น่าจะเป็นคลังสินค้าอัตโนมัตินี่เอง การนำระบบ เครื่องจักรมาใช้กับงานรับส่งสินค้าที่ศูนย์กระจายสินค้าเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1950 ก่อนหุ่นยนต์ จะถือกำเนิดขึ้นมาเสียอีก จวบจนได้มีการนำลิฟต์และชุดลำเลียงเข้ามาใช้ผ่านการควบคุมโดย คอมพิวเตอร์ทั้งหมด จนกลายเป็นคลังสินค้าที่ไม่ต้องใช้แรงงานคนเลย แม้ว่าในความเป็นจริง มันคือ “ความพยายามที่จะเปลี่ยนคลังสินค้าทั้งหมดให้เป็นระบบหุ่นยนต์” แต่ด้วยความที่เป็น ผู้ผลิตระบบขนส่ง งานที่เราได้ทำจริงๆ จึงแตกต่างจากการพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ปัจจุบันนี้ มีทั้ง ตัวอย่างการพยายามสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติโดยผสานแขนกลเข้ากับหุ่นยนต์แบบคาทีเซียน และมีตัวอย่างที่หุ่นยนต์จะวิ่งวนภายในคลังเพื่อทำหน้าที่รับส่งสินค้เข้าและออก นั่นทำให้การ แบ่งแยกระบบการขนส่งออกจากหุ่นยนต์ทำได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามนี่เป็นเรื่องปกติ เพราะหุ่นยนต์มีการพัฒนาอยู่เสมอ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกนำ มาใช้เพื่อเปลี่ยนรูปร่างไปได้เรื่อยๆ ส่วนสำคัญ BOX● หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมจะพัฒนาต่อไปสู่แวดวงที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิต● ความก้าวหน้าของ RT จะช่วยผลักดันให้เกิดการแพร่ขยายของหุ่นยนต์● หุ่นยนต์จะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ในระหว่างที่กำลังพัฒนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์
สำหรับงานอุตสาหกรรม

– ผู้เล่นสำคัญในงานด้านการผลิต – ในยุคปัจจุบัน หุ่นยนต์ที่ก่อให้เกิดตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็คือหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรม ตัวอย่าง ที่เห็นไดทั้่วไป คือ หุน่ ยนตแ์ บบแขนกล (Arm type robot) ซึ่งนับเปน็ เครื่องจักรกล (Manipulator) แบบเรียบงา่ ย ที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างที่คล้ายกับแขนและมือของมนุษย์ สามารถเคลื่อนที่ได้หลากหลายทิศทางและหลาย รูปแบบผ่านฟังก์ชั่นทีชชิ่ง (Teaching) โดยฟังก์ชั่นนี้จะ “บันทึกท่วงท่าและการเคลื่อนที่ตามที่สอนไว้เป็นโปรแกรม แล้วทำการเลียนแบบ” จึงนำมาใช้กับกระบวนการผลิตได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมหรือการพ่น เคลือบสี การแมชชีนนิ่ง การประกอบ รวมไปถึงการขนส่ง อันที่จริงแล้ว ในโรงงานต่างๆ ได้มีการนำ “เครื่องจักรที่ทำงานอย่างอัตโนมัติ” เข้ามาใช้ แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ สามารถนำมาใช้ได้กับเฉพาะงานใดงานหนึ่งตามที่กำหนดเท่านั้น ในขณะที่จุดเด่นสำคัญของหุ่นยนต์สำหรับ งานอุตสาหกรรมคือเป็นเครื่องจักรที่สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดการทำงานได้ตามความต้องการด้วยการเขียน โปรแกรม (Programing) นอกจากนี้ หากเพิ่มความสามารถในการทำงานอย่างอิสระให้กับหุ่นยนต์ในระดับหนึ่ง ก็จะสามารถควบคุมการ “ปรับเพิ่ม-ลดกำลังตามสถานการณ์” ได้อย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้สามารถนำไปใช้เพื่อ รองรับความต้องการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น หุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรมแบ่งประเภทหลักๆ ตามกลไกโครงสร้างได้ดังต่อไป (วิธีการแบ่งประเภทอาจ แตกต่างกันไปตามผู้ผลิตแต่ละราย ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น) • หุ่นยนต์หลายข้อต่อแนวตั้ง (Vertical multi-joint robot)• หุ่นยนต์หลายข้อต่อแนวนอน (Scala robot)• หุ่นยนต์ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinate robot)• หุ่นยนต์โครงสร้างแบบขนาน (Parallel link robot) หุ่นยนต์หลายข้อต่อนั้นสามารถแบ่งแยกออกได้เป็นแบบ 3 แกน, 4 แกน, 5 แกน, 6 แกน, …… ตามจำนวน “แกน” ที่เปรียบได้กับข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ ยิ่งมีจำนวนแกนมากก็จะยิ่งเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ มากขึ้น จึงเคลื่อนไหวตามท่วงท่าที่ซับซ้อนได้ แต่ก็ทำให้การควบคุมทำได้ยากขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วนคำว่าแนวตั้ง หรือแนวนอนเป็นการบอกทิศทางของแกน หุ่นยนต์ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน บางครั้งเรียกว่าหุ่นยนต์แกนทรี่ (Gantry robot) เคลื่อนที่แบบสามมิติด้วยแกนสไลด์ 3 แกนที่ทำมุมฉากซึ่งกันและกัน หุ่นยนต์โครงสร้างแบบ ขนานประกอบขึ้นจากแกนจำนวนหลายแกนโดยโครงสร้างมีกลไกแบบขนาน ดัดแปลงจากหุ่นยนต์หลายข้อต่อ โดยนำมาปรับปรุงให้สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงประเด็น สำคัญ BOX● หุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรมที่ก่อกำเนิดตลาดขนาดใหญ่● เสน่ห์อยู่ที่สามารถสอนให้เคลื่อนที่ได้อย่างหลากหลายและนำไปใช้ได้อย่าง อเนกประสงค์● สามารถแบ่งประเภทได้ตามโครสร้าง เช่น แกน

การพัฒนาของเทคโนโลยีหุ่นยนต์

ในสังคมแห่ง IoT หากมองว่าเซ็นเซอร์รับข้อมูลแล้วกระตุ้นให้สังคมเกิดการเคลื่อนไหวใน รูปแบบต่างๆ หุ่นยนต์จะสัมพันธ์โดยตรงกับการกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับ เครื่องจักร เมื่อพูดถึง “robot” เราอาจนึกถึงเครื่องจักรที่เคลื่อนที่แบบตั้งตรงด้วยรูปร่างที่ เหมือนคน แต่ที่จริงแล้วรูปร่างนั้นมีอยู่หลากหลาย ตัวอย่างเช่นโดรนก็ถือเป็นหุ่นยนต์ ก่อนจะมีโดรน เราก็มีสิ่งที่บินอยู่เหนือท้องฟ้าโดยใช้กำลัง ขับของตัวมันเอง เช่น เครื่องบินบังคับวิทยุ หรือเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น ทำไมจึงมีเฉพาะโดรน ที่ได้รับความสนใจ นั่นเพราะควบคุมได้ง่ายและยิ่งไปกว่านั้นคือการเคลื่อนที่อย่างแม่นยำ ด้วย แรงยกที่ได้จากการใช้ใบพัดหลายใบ ทำให้โดรนควบคุมได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่าง ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าเป็นการถ่ายภาพจากที่สูงหรือจัดส่งพัสดุ เป็นต้น สำหรับการเกษตรกรรมนั้น หุ่นยนต์ที่ทำงานในทุ่งโล่งยากที่จะควบคุมตำแหน่งให้ได้อย่าง แม่นยำ จึงถูกจำกัดใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างเช่นโรงงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันด้วยการ ปรับปรุงประสิทธิภาพของ GPS ที่ดีขึ้นจึงนำมาใช้งานในฟาร์มเกษตรได้ หุ่นยนต์ค่อยๆ บุกเบิกวงการใหม่ๆ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญในสังคมแห่ง IoT หนึ่งในนั้น คือการแลกเปลี่ยนเงินสดในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ หากชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ก็คงสามารถนำไปใช้งานจริงได้ทันที พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ของโรงแรมที่เปลี่ยนเป็นระบบ หุ่นยนต์ก็กลายมาเป็นประเด็นร้อน สายการผลิต เช่น รถยนต์ ก็เริ่มนำหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคนได้มาใช้งานจริง หุ่นยนต์ในช่วง เริ่มแรกนั้นเคยเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กับทำให้คนได้รับบาดเจ็บ จากการเคลื่อนที่ที่นอกเหนือ ความคาดหมาย จึงไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานร่วมกับคนได้ แต่ปัจจุบัน แม้จะยังมีข้อจำกัดแต่หุ่นยนต์ก็สามารถร่วมทำงานกับคนได้ เช่น จับประคองวัตถุ ที่มีนํ้าหนักมาก เป็นการช่วยลดภาระของคนลงได้ หุ่นยนต์ในลักษณะนี้ประกอบไปด้วย โครงสร้างที่แม้จะสัมผัสก็ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ประเด็น สำคัญ BOX● หุ่นยนต์ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานสำคัญในสังคมแห่ง IoT● การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์เป็นไปได้แล้วในปัจจุบัน

บริการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในสังคมแห่ง IoT

หากสังคมขับเคลื่อนไปด้วยความตั้งใจและความปรารถนาของแต่ละคนได้ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดี เมื่อเข้าไปในเมืองแม้จะได้รับความสะดวกสบายต่างๆ นานา แต่หากขับรถไปเองก็จะประสบกับ ปัญหาเรื่องที่จอดรถ แท็กซี่อาจจะสะดวกแต่ก็ตามมาด้วยราคาที่แพง อูเบอร์จากอเมริกามอง เห็นปัญหาดังกล่าวนี้ มันคือบริการที่ใช้ประโยชน์จากฟังก์ชั่นของสมาร์ทโฟน โดยนำรถยนต์ สว่ นตัวที่ไมไ่ ดใ้ ชง้ านและคนขับมาทดแทนแท็กซี่ เมื่อผูที้่ตอ้ งการใชง้ านแจง้ สถานที่ที่จะไปและจุด ขึ้นรถผ่านสมาร์ทโฟน รถจะมารับและขับไปส่งยังปลายทาง จากนั้นก็ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต นับเป็นบริการที่เชื่อมโยงความสะดวกของผู้ที่อยากเดินทางกับผู้ขับเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านช่องทาง การสื่อสารและดว้ ยราคาที่ยอ่ มเยา ปจั จุบันที่ญี่ปุน่ ยังไมไ่ ดรั้บการอนุญาตเนื่องจากคำนึงถึงเรื่อง ความปลอดภัยของลูกค้ามาก่อน ในอนาคต หากรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติเป็นที่นิยม มันอาจจะ กลายเป็นบริการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีประชากรลดลง สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจสิ่งที่น่ากลัวคืออาการวูบอย่างกะทันหัน เมื่อเกิดอาการวูบ กล่าว ได้ว่าช่วงระยะเวลาก่อนจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาคือเวลาแห่งการต่อสู้ สิ่งที่คาดหวังคือ บริการที่จะสามารถส่งข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจที่ตรวจจับโดยเซ็นเซอร์ ซึ่งติดอยู่กับร่างกายไปยังศูนย์บริการทางการแพทย์ผ่านเครือข่าย เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ดูแลดำเนินการต่ออย่างเหมาะสม การบริการทางการแพทย์เป็นกลไกขับเคลื่อนสังคมที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องด้าน สุขภาพของผู้คน แต่ด้วยแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ที่ยังมีไม่ทั่วถึง ทำให้ในความเป็นจริงยัง ไม่สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที หากเรามีเซ็นเซอร์และสร้างเครือข่ายที่รองรับการสื่อสาร ข้อมูลนั้นได้ ก็น่าจะให้การรักษาอย่างที่ผู้ป่วยคาดหวังและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที สามารถ หลีกเลี่ยงอันตรายต่อชีวิตได้ หากบรรเทาปัญหาเรื่องทรัพยากรที่ไม่ทั่วถึงนี้ด้วยการสร้างระบบ ข้อมูลได้จริง ก็น่าจะเป็นบริการที่มีประสิทธิภาพทีเดียว สังคมผู้สูงวัยยังคงดำเนินไป และเมื่อผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เขา เหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์ไม่เฉพาะแต่โรคหัวใจเท่านั้น หากการบริบาล ทางการแพทย์ที่ขับเคลื่อนสังคมมีจำนวนที่เพียงพออย่างแท้จริง ปัญหาการต้องรอคิวนานๆ ใน โรงพยาบาลใหญ่ๆ เพื่อรอตรวจวินิจฉัยหลายขั้นตอนก็คงจะได้รับการบรรเทา ประเด็น สำคัญ BOX● ระบบการคมนาคมที่ขับเคลื่อนสังคมนั้น ก่อนอื่นเริ่มจากรถยนต์● การบริการทางการแพทย์ถูกคาดหวังอย่างแรงกล้าว่าจะช่วยขับเคลื่อนสังคม

พื้นฐานของ Hourensou

1-1 ความสำคัญของ Hourensou (รายงาน – ติดต่อ – ปรึกษา) ☞POINT▼ Hourensou ที่เหมาะสมช่วยสร้างความกระตือรือร้นในที่ทำงาน▼ Hourensou จำเป็นต้องได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง (1) Hourensou คืออะไรการเป็นหนึ่งเดียวกับผู้คนที่ทำงานได้คือการให้ความสำคัญกับเรื่องต่อไปนี้ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง Hourensou (รูป 1)① ข้อมูลอยู่ที่สถานที่ปฏิบัติงาน จงตรวจสอบด้วยตนเองอย่างสมํ่าเสมอ② แม้ในฐานะหัวหน้าก็ต้อง Hourensou แก่ลูกน้องให้เป็นนิจ③ ปฏิบัติโดยคำนึงถึงฐานะและนิสัยของอีกฝ่ายอยู่เสมอ④ พิจารณาจุดประสงค์และความสำคัญให้ฝ่ายงานอื่นรับรู้เป็นประจำ⑤ ปรับตัวรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง แล้วตอบสนองอย่างยืดหยุ่นดังที่กล่าวมานี้ Hourensou จึงหมายถึง การสื่อสารทั้งสองทางตามที่ ลูกค้า – หัวหน้า – เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องต้องการเพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่น (2) สถานที่ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและมีชีวิตชีวาสถานที่ปฏิบัติงานที่มีการสื่อสารที่ดีระหว่าง หัวหน้า – ลูกน้อง – เพื่อนร่วมงาน จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ เนื่องจากได้รับการแบ่งปันข้อมูลอย่างเหมาะสมและทันเวลา① การร้องเรียนจากลูกค้าและความไม่สอดคล้องภายในบริษัทจะมีน้อย การคอยแก้ไขตามหลังหรือการถามหาการรับผิดชอบจะน้อยลง เป็นสถานที่ทำงานที่มีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยแรงจูงใจในการทำงาน② เรื่องพื้นฐานในการทำงานได้รับการแบ่งปันร่วมกัน ประสิทธิภาพได้รับการปรับปรุงดีขึ้น③ หัวหน้ามอบหมายให้ลูกน้องทำงานได้อย่างไร้กังวล④ ลูกน้องทำงานได้ด้วยตัวเอง ส่งผลให้ความสามารถเพิ่มขึ้นและผลการทำงานดีขึ้น (3) การสร้างคนด้วย Hourensou① หัวหน้าที่ทำให้ลูกน้องอยากทำงาน• ไม่ใช่แค่การสั่ง แต่ต้องทำให้ลูกน้องคิดแล้วปฏิบัติเอง• ข้อมูลที่สำคัญไม่ว่าเมื่อไหร่จะต้องแบ่งปันให้รับทราบร่วมกัน• แจ้งให้รู้ถึงความสำคัญของงาน เพื่อให้สัมผัสรู้สึกได้ถึงความสำเร็จ• ไว้วางใจลูกน้อง มอบหมายงานให้ แล้วติดตามในเวลาที่เหมาะสม② หัวหน้าต้อง “ปรึกษา” ลูกน้องแม้เรื่องการกำหนดเป้าหมาย• ในงานที่รับผิดชอบจริง มีหลายกรณีที่ลูกน้องรู้สถานการณ์ปัจจุบันมากกว่า ในการกำหนดเป้าหมายจึงควรให้เข้าร่วมด้วย• หากเป็นหัวข้อที่ตนเสนอเอง ความปรารถนาที่อยากจะให้สำเร็จย่อมมีมากกว่าหัวข้อที่ได้รับคำสั่งจากหัวหน้า③ Hourensou เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มแรงจูงใจ• การเข้าร่วมการกำหนดหัวข้อและผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติได้รับการยอมรับ ช่วยเพิ่มระดับแรงจูงใจอย่างมาก• การตัดสินใจเข้าร่วมด้วยตนเองแล้วปฏิบัติ แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่ให้ปรับปรุงแล้วทำให้สำเร็จจงได้ (4) Hourensou จำเป็นต้องได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ความคิดและการสื่อสารของคนหนุ่มสาวได้เปลี่ยนไปอย่างมากจากการใช้ ICT และอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการรับมืออย่างสร้างสรรค์① การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคนหนุ่มสาวคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันไม่ถนัดกับการรายงานหรือการปรึกษาจนมักเกิดความรู้สึกอิหลักอิเหลื่อ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดัดแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้คนเหล่านี้② การนำ ICT ที่มีประสิทธิภาพมาใช้กับ Hourensouในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การใช้ ICT มีความหลากหลายมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยี ICT ไปใช้ในสถานที่ทำงาน และยังถูกคาดหวังให้สามารถดัดแปลงมาใช้งานกับ Hourensou ได้ดังแสดงในรูปที่ 2 การสื่อสาร (รายงาน / ติดต่อ /