ขนาดของการตัดกลึงระหวางเพ ิ่งเปดเคร ื่ องกับกระบวนการหลังจากน ั้นจะไมเทากัน ภาพ 1 แสดงความแมนยําของการตัดกลึงที่ตางกันเม ื่ อเทียบระหวางมีการอุนเคร ื่ อง กอนเร ิ่ มงานกับไมมี (ภาพจําลอง)

ขนาดของการตัดกลึงระหวางเพ ิ่งเปดเคร ื่ องกับกระบวนการหลังจากน ั้นจะไมเทากัน ภาพ 1 แสดงความแมนยําของการตัดกลึงที่ตางกันเม ื่ อเทียบระหวางมีการอุนเคร ื่ อง กอนเร ิ่ มงานกับไมมี (ภาพจําลอง)
ภาพ 1 ตัวอยางหน ึ่ งจากเคร ื่ องตัดกลึงอเนกประสงค
ภาพ 1 แสดงการตัดกลึงดวยเคร ื่ องจักรกลทรงแนวต ั้ งและทรงแนวนอน
เม ื่ อเดือนสิงหาคมที่ผานมา โอคุมาไดสงมอบเคร ื่ องแมชชินน ิ่ งเซ็นเตอรแบบเสาคูสูลูกคาท ั่วโลกแลว กวา 10,000 เคร ื่ อง เคร ื่ องแมชชีนน ิ่ งเซ็นเตอรแบบเสาคูของโอคุมาไดรับความนิยมจากลูกคาท ั่วโลกในฐานะ เคร ื่ องจักรอัจฉริยะ (รองรับระบบอัตโนมัติ, ชวยเพ ิ่มประสิทธิภาพการผลิต) ที่เปนมิตรตอส ิ่ งแวดลอม
1 ประเภทของอุปกรณ์ควบคุม อุปกรณ์ควบคุมตามภาพที่ 1-5 เป็นเครื่องมือที่มีหน้าที่ในการควบคุมโดยทำการอ่านโปรแกรม NC และออก คำสั่งไปยังส่วนต่างๆ เช่น เพลาขับและเครื่องกล ถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้วกล่าวได้ว่า หัวเพลาขับหรือ โต๊ะคือแขนขา ส่วนเซอร์โวมอเตอร์คือเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อที่สั่งการให้แขนขาเคลื่อนไหว และอุปกรณ์ ควบคุมเป็นหัว (สมอง) ถ้ากล่าวถึงแท็บเล็ตแล้ว Windows, Andriod, iOS ก็เทียบได้เสมือนอุปกรณ์ควบคุม ผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ FANUC, Mitsubishi Electric, Yaskawa Electric, Toshiba เป็นต้น ผู้ผลิตในต่างประเทศที่มีชื่อเสียง ได้แก่ SIEMENS, HEIDENHAIN เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมเองก็มี ลักษณะเด่นแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เหมือนกับมนุษย์เราที่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันไปมากมาย ทั้งคนที่เล่า เรื่องเก่ง คนที่อ่านแผนที่เก่ง คนที่ถนัดงานประเภททำมือ เพราะฉะนั้นหากเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมเครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์เพียงส่วนเดียวก็ส่งผลให้สมรรถภาพขั้นตอนการทำงานเปลี่ยนไปได้ ในต่างประเทศพัฒนา เรื่องผลิตงานโดย 5 แกนไปไกลกว่าญี่ปุ่น จึงว่ากันว่าหากเป็นเครื่องควบคุม 5 แกนแล้ว อุปกรณ์ควบคุมของ ต่างประเทศนั้นเหนือกว่าของญี่ปุ่นเสียอีก แม้ผู้ผลิตของอุปกรณ์ควบคุมจะต่างกันแต่พื้นฐานโปรแกรม NC (G Code, M Code เป็นต้น) นั้นไม่แตกต่างกัน ยกเว้น NC โปรแกรมลักษณะพิเศษ อาทิเช่น โปรแกรมเจาะ (Drilling Cycle), การกลัดเกลียว (Tapping Cycle), โปรแกรมมาโคร, ค่าตัวแปร จะมีแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุม เพราะฉะนั้นหากแยกใช้เครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์จำนวนหลายเครื่องโดยติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่แตกต่างกันหลายเจ้า อาจ เกิดความสับสนได้เล็กน้อย ส่วนนี้เหมือนกับการที่เมื่อผู้ผลิตรถยนต์หรือโทรศัพท์มือถือต่างกัน ก็ทำให้ผู้ใช้ ลังเลขึ้นมาเรื่องการใช้งานเล็กน้อย 2 Postprocessor จัดทำทางเดินมีด (Tool Path) [เส้นทางตัด (Cutter Path)] ด้วย CAM เมื่อต้องการเปลี่ยนข้อมูลทาง เดินมีด (Tool Path) ให้เป็นโปรแกรม NC ต้องเลือก “Postprocessor” ที่เหมาะสมกับผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุม Postprocessor เป็นฟังก์ชั่นในการเปลี่ยนข้อมูลทางเดินมีด (Tool Path) ให้เป็นโปรแกรม NC ตามที่กล่าวไปข้างต้น โปรแกรม NC
เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์จะเคลื่อนที่อุปกรณ์ตัด (เพลาขับ) และโต๊ะตามค่าพิกัด เพราะเหตุนั้นการที่จะเดินเครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ต้องทราบเกี่ยวกับระบบพิกัดซึ่งเป็นพื้นฐานของตัวเลขพิกัดไว้ก่อน 1 การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ประกอบไปด้วยแกน X แกน Y แกน Z ทั้งหมด 3 แกน เครื่อง แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งและเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ 5 แกนหากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-3) เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวนอนหากมองตัวเครื่องโดยอยู่ตรงข้ามกับเพลาขับ ซ้ายขวาจะเป็นแกน X หน้าหลังจะ เป็นแกน Z ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Y เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แบบเสาคู่หากมองตัวเครื่องจากด้านหน้า หน้าหลังจะเป็นแกน X ซ้ายขวาจะเป็นแกน Y ส่วนบนล่างจะเป็นแกน Z (ภาพที่ 1-4) แกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับจะเป็นแกน Z ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลชนิดใด นอกเรื่องจากเดิมมาสักนิด เครื่องกลึงเองก็มีแกน Z เป็นแกนที่เคลื่อนที่ผ่านเพลาขับ (แกนที่เชื่อมกับชุดยันศูนย์ ท้ายกับเพลาขับ) แต่ละแกนจะมีทิศทางบวก ทิศทางลบ แนวความคิดนี้ตาม “กฎมือขวา 1” ทำมือขวาตามภาพเทียบ หัวเพลาขับโดยนิ้วโป้งเป็นแกน X นิ้วชี้เป็นแกน Y นิ้วกลางเป็นแกน Z แล้วทิศทางที่นิ้วชี้ไปคือทิศทางบวก ทิศทางตรง ข้ามกันคือทิศทางลบ เครื่องจักรกลนั้นจะเอาการเคลื่อนไหวของหัวเพลาขับเป็นมาตรฐานในการดูทิศทางบวก ทิศทางลบ 2 ทิศทางของระบบพิกัด จุดนี้ควรระวัง (ส่วนนี้เป็นกับดัก!) หัวเพลาขับถูกยึดไว้อยู่ที่ตรงกลางของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ แต่ตำแหน่งใน การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่น เครื่องที่ทั้ง 3 แกนเคลื่อนที่โดยโต๊ะ หรือหัวเพลาขับเคลื่อนที่ เฉพาะแกน Z (1 แกน) และแกน X แกน Y (2 แกน) เคลื่อนที่โดยโต๊ะ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ในเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งที่โต๊ะเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแกน X กับแกน Y ทิศทางบวก และทิศทางลบของแต่ละแกนจะตรงกันข้ามกับทิศทางที่นำการเคลื่อนไหวของเพลาขับมาเป็นพื้นฐาน (กฎมือขวา) แกน X (ทิศทางซ้ายขวา) ทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยังด้านซ้ายเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางบวก และทิศทางที่เคลื่อนที่ไปยัง ด้านขวาเทียบต่อหัวเพลาขับจะเป็นทิศทางลบ ส่วนนี้หากพิจารณาจากการเทียบกันแล้ว
1 โครงสร้าง เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ทั่วไปจะมีฝาครอบเครื่องอยู่ทำให้มองไม่เห็นโครงสร้างด้านใน (โครงเหล็ก) เครื่องแมชชีนนิ่ง เซ็นเตอร์ในปัจจุบันมีการปรับฝาครอบให้ดูดีขึ้นและยังมีแผงควบคุมเป็นหน้าจอสัมผัสอีกด้วย หลายคนจึงนึกภาพคิด ว่าเป็นเครื่องมือกลรุ่นใหม่ แต่หากถอดฝาครอบออกโดยพื้นฐานแล้วก็ไม่ต่างไปจากเครื่องกัดทั่วไปมากเลย ฝาครอบ ของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์เรียกว่า “Splash Guard” โครงสร้างของเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แนวตั้งสามารถแบ่ง ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามกลไกการเคลื่อนที่ด้วยแกน X ได้แก่ 1 ใช้โต๊ะ (Table) สำหรับหมุนชิ้นงาน 2 ใช้ หัวเพลาขับ (Spindle Head) สำหรับหมุนชิ้นงาน 1 กรณีใช้โต๊ะ (Table) สำหรับหมุนชิ้นงาน (ภาพที่ 1-1): ส่วนที่อยู่ตำแหน่งล่างสุดและเป็นฐานรองคือ “ แท่นเครื่อง (Bed)” ซึ่งแท่นเครื่อง (Bed) นั้นเป็นฐานรองเพื่อรองรับเครื่องมือกลทั้งหมด (ตัวเครื่อง) และแท่นที่ จะเคลื่อนที่ไปในแกน Y ตามรางนำทางบนแท่นเครื่อง (Bed) ก็คือ “หมอนรอง (Saddle)” นอกจากนั้น แท่นที่ จะเคลื่อนที่ไปในแกน X ตามรางนำทางของหมอนรอง (Saddle) ก็คือ “โต๊ะ (Table)” นั่นเอง ถัดมา ชิ้นส่วนที่อยู่บนแท่นเครื่อง (Bed) และเคลื่อนที่ออกในแนวตั้งคือ “ เสา (Column)” และส่วนที่จะ เคลื่อนที่ไปในแกน Z ตามรางนำทางของเสา (Column) ก็คือ “หัวเพลาขับ (Spindle Head)” นั่นเอง หัวเพลา ขับ (Spindle head) คือส่วนมีเพลาขับ (Spindle) ประกอบอยู่ในตัว 2 กรณีใช้หัวเพลาขับ (Spindle Head) สำหรับหมุนชิ้นงาน (ภาพที่ 1-2): ส่วนที่อยู่ตำแหน่งล่างสุดและ เป็นฐานรองคือ “แท่นเครื่อง (Bed)” และแท่นที่จะเคลื่อนที่ไปในแกน Y ตามรางนำทางบนแท่นเครื่อง (Bed) ก็คือ “โต๊ะ (Table)” ชิ้นส่วนที่อยู่บนแท่นเครื่อง (Bed) และเคลื่อนที่ออกในแนวตั้งคือ “เสา (Column)” และ แท่นที่จะเคลื่อนที่ไปในแกน
ในภาพที่ 4 แสดงภาพขยายใหญ่ของเวอร์เนียร์กับขีดแบ่งสเกลรอง (ขีดแบ่งสเกลรองถูกเรียกได้ว่า ขีดแบ่งสเกลเวอร์เนียร์เช่นกัน) เวอร์เนียร์มีกลไกในการอ่านค่าที่วัดได้โดยดูสเกลหลักและขีดแบ่ง สเกลรองทั้งสองอย่าง ในส่วนนี้จะอธิบายถึงหลักการในการวัดของเวอร์เนียร์อย่างง่ายให้ทราบ หากปรับให้สเกลหลักและขีดแบ่งสเกลรองเลขศูนย์ตรงกันแล้วจะเห็นได้ว่า ค่า 10 ของขีดแบ่งสเกล ของตรงกับ 39 มม. ของสเกลหลัก ขีดแบ่งสเกลรองเป็นขีดแบ่งที่แบ่ง 0-10 ออกเป็น 20 ช่อง ค่าของขีด แบ่งสเกลรอง 1 ขีดจึงเป็นค่าที่แบ่ง 39 มม. ออกเป็น 20 ส่วน ซึ่งก็คือ 1.95 มม. หมายความว่าจะเกิด ช่องว่างระยะ 0.05 มม. ขึ้นระหว่างขีดแบ่งสเกลรอง 1 ขีดกับสเกลหลัก 2 มม. นั่นเอง ในส่วนนี้ ถ้าปรับขีดแบ่งสเกลรองขีดแรกให้ตรงกับสเกลหลัก 2 มม. ตามภาพที่ 5 จะทราบโดยง่ายว่า ช่องว่างไม่ตรงกันอยู่แล้วจึงเกิดช่องว่าง 0.05 มม. ที่ด้านวัดภายนอก กล่าวคือสำหรับเวอร์เนียร์ที่แสดง อยู่ในภาพนี้จะสามารถวัดค่าได้ละเอียดถึงระยะ 0.05 มม. ตามที่มีรอยพิมพ์ประทับไว้ว่า 0.05 มม. บริเวณด้านขวาของสเกลเลื่อน เวอร์เนียร์สามารถนำระยะส่วนต่างของขีดแบ่งสเกลหลักและขีดแบ่งสเกลรองมาใช้ในการวัดหลักที่ ตํ่ากว่าทศนิยมได้ดังที่กล่าวไป นี่คือหลักการในการวัดของเวอร์เนียร์นั่นเอง Columnชื่อเรียกภาษาอังกฤษของเวอร์เนียร์ (เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ : Vernier caliper)“Nonius” เป็นชื่อเรียกที่มีแค่คนญี่ปุ่นเท่านั้นที่เข้าใจ ในอเมริกาถูกเรียกว่า “เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์” คำว่า “เวอร์เนียร์” มาจากชื่อของผู้คิดค้นขีดแบ่งสเกลเวอร์เนียร์ที่ประยุกต์มากจากเครื่องวัด (ปิแอร์เวอร์เนียร์ : Pierre Vernier : ค.ศ. 1580-1637 : ฝรั่งเศส) ส่วน “คาลิปเปอร์” หมายถึง “อุปกรณ์ปากวัดงานที่สามารถวัดมิติจำพวกเส้นผ่าศูนย์กลางโดยใช้งานสเกลเลื่อน 2 ชิ้นหนีบคั่น”